Search
 
NEWS
 

ธุรกิจอเมริกันนำเสนอ ‘แบตเตอรีดินเหนียว’ ทางเลือกสีเขียว สำหรับภาคอุตสาหรรม

 
 
Latest battery innovation? Bricks made of clay — พลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ มีราคาถูกกว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่การเชื่อมต่อพลังงานสะอาดเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตที่ถือว่าเป็นภาคส่วนสำคัญที่สุดกลับยังขาดการพัฒนา ในกระบวนการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามต้องใช้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอ หรือในบางกรณีจำเป็นต้องใช้ความร้อนตลอด 24 ชั่วโมงด้วย   จอห์น โอดอนเนล ซีอีโอ บริษัท รอนโด เอ็นเนอร์จี (Rondo Energy) ในเมืองอาลาเมดา (Alameda) รัฐแคลิฟอร์เนีย อธิบายว่า “ภาคการผลิตใช้พลังงานของโลกมากที่สุด ความร้อนที่ใช้ในการผลิตสินค้า คิดเป็นหนึ่งในสี่ ของ (พลังงาน) ที่ได้จากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติทั้งหมดในโลก” พลังงานหมุนเวียนจากลมและแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ผลิตได้ไม่คงที่ จึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุที่ผู้คนต่างละเลยอย่าง “อิฐดินเหนียว” มาทำหน้าที่เป็นแบตเตอรีกักเก็บความร้อน คล้ายกับว่า โรงงานมีแผงลวดทำความร้อนแบบเครื่องปิ้งขนมปังฝังเอาไว้   โอดอนเนล เล่าย้อนว่า ดินเหนียวเหล่านี้เป็นวัสดุที่โลกใช้มานานกว่า 200 ปีแล้วถือว่า นำเอาวัสดุที่เคยเป็นที่นิยมจากยุค 80 มาใช้ผลิตในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสำหรับยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 สำหรับหลักการของ “แบตเตอรีดินเหนียว” นั้น ภายในจะมีลวดเหล็กในการสร้างและเหนี่ยวนำความร้อน ส่วนก้อนอิฐถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงที่ซับซ้อนเพื่อกระจายความร้อนอย่างสม่ำเสมอและกักเก็บพลังงานไว้นานหลายวัน   ซีอีโอ บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า “อิฐ (ดินเหนียว) เพียงก้อนเดียว จะเก็บพลังงานได้มากเท่ากับชุดแบตเตอรีของ เทสลา โมเดล เอ็กซ์ (Tesla Model X)” ในการสร้างคลังกักเก็บพลังงานหนึ่งจุด จะใช้อิฐดินเหนียวซ้อนกันประมาณ 3,000 ชิ้น คลังกักเก็บความร้อนจากก้อนอิฐสามารถทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียสซึ่งภาคธุรกิจสามารถนำความร้อนดังกล่าวไปใช้ได้ในการผลิตอาหาร เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้   ทั้งนี้ ผลงานแบตเตอรีดินเหนียวของบริษัท Rondo Energy ถูกนำไปใช้ครั้งแรกปี 2023 ที่โรงงานเชื้อเพลิงชีวภาพ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โอดอนเนล กล่าวทิ้งท้ายว่า การทดแทนระบบเผาไหม้ด้วยการใช้พลังงานจากลมและแสงแดดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ถึงครึ่งหนึ่ง ในเวลานี้ โรงงานฐานการผลิตขนาดใหญ่สำหรับแบตเตอรีก้อนอิฐตั้งอยู่ในประเทศไทย ขณะที่ บริษัทแห่งนี้มีแผนการสร้างโรงงานแบตเตอรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ และกำลังอยู่ในกระบวนการเจรจากับบริษัท EDP ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ เพื่อจะทำหน้าที่จัดหาพลังงานความร้อนที่ไร้ก๊าซคาร์บอนให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไป้ด้วย ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดพลังงานจากอิฐดินเหนียวธรรมดา ๆ นั้นอาจกำลังก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของอนาคตของพลังงานสะอาดโลกครั้งใหม่ได้แล้ว   ที่มา: วีโอเอ - READ MORE
By thai@voanews.com (VOA)
Mon, 26 Aug 2024 07:41:03 +0700
 
PREVIOUS NEXT
Tagged:
ADD COMMENT
Topic
Name
9+4 =